มัสยิดเซฟี (ตึกขาว)
เลขที่ 647/1 ซอยช่างนาค ถนนสมเด็จเจ้าพระยา5 ต.สมเด็จเจ้าพระยา อ.เขตคลองสาน จ.กรุงเทพมหานคร 10600 -

ประวัติโดยย่อ
มัสยิดเซฟี มัสยิดเซฟี หรือ
มัสยิดตึกขาว ย่านคลองสาน ตั้งอยู่ในซอยสมเด็จเจ้าพระยา5
(ซึ่งในอดีตมีทางออกสู่ด้านแม่น้ำเจ้าพระยา)
มัสยิดแห่งนี้สร้างขึ้นโดยกลุ่มชาวมุสลิมสายดาวุดีโบราห์
ที่เดินทางมาจากเมืองสุหรัต ประเทศอินเดีย ในช่วงต้นรัชสมัยล้นเกล้ารัชกาลที่ 4 ชาวมุสลิมกลุ่มนี้เป็นนิกายชีอะห์
ซึ่งเป็นพ่อค้าในบังคับของอังกฤษที่เดินทางเข้ามาค้าขายยังแผ่นดินสยามในช่วงเวลานั้น
ชาวไทยมักเรียกชาวมุสลิมกลุ่มนี้ว่า นักกุด่าหรือนักขุด่า
ที่เพี้ยนมาจากภาษาเปอร์เชีย แปลว่า เจ้าของเรือสินค้า เนื่องด้วยมุสลิมกลุ่มนี้เป็นเจ้าของเรือสินค้าหลายลำ
มีบุคคลสำคัญของชาวมุสลิมกลุ่มนี้เช่น นักกุด่ามอหามัดฝอเรศ (หลวงประเทศไมตรี)
นายอับดุลราฮิม (เจ้าของห้างอับดุลราฮิม) นายห้างมัสกาตี (เจ้าของห้างมัสกาตี)
ปีที่สร้าง พ.ศ. 2453
ในปี พ.ศ. 2398 ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 4
ราชอาณาจักรสยามได้ทำสนธิสัญญากับสหราชอาณาจักรเพิ่มขึ้นอีก 1 ฉบับ เรียกกันโดยทั่วไปว่า “สนธิสัญญาบาวริง” โดยมีเซอร์จอห์น
เบาว์ริงราชทูต
ที่ได้รับการแต่งตั้งจากสมเด็จพระบรมราชินีนาถวิกตอเรียเข้ามาทำสนธิสัญญาซึ่งมีสาระสำคัญคือ
การเปิดการค้าเสรีกับต่างประเทศในสยาม
มีการปรับเปลี่ยนกฎระเบียบการค้าระหว่างประเทศโดยการสร้างระบบการนำเข้าและส่งออกใหม่เพิ่มเติม
จากสนธิสัญญาเบอร์นี
สนธิสัญญาฉบับก่อนหน้าซึ่งได้รับการลงนามระหว่างสยามและสหราชอาณาจักรใน พ.ศ. 2369 สมัย รัชกาลที่ 3 หลังจากนั้น
ได้มีชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาในสยามมากขึ้น
รวมทั้งกลุ่มชาวอินเดียเป็นจำนวนมากที่เดินทางเข้ามาในฐานะกลุ่มพ่อค้าโดยดำเนินการค้าอยู่ในย่านราชวงศ์และทรงวาด
และมีนิคมของตนเองอยู่ทางฝั่งตรงข้ามแถบท่าดินแดงและคลองสานซึ่งคนอินเดียเหล่านี้ส่วนใหญ่เข้ามาในฐานะ
“Subject หรือ คนในบังคับ” หรือที่คุ้นเคยของคนสยามในนามพวก
“สัพเย็ก” โดยส่วนหนึ่งของกลุ่มพ่อค้าชาวอินเดียที่เดินทางเข้ามาในสยามในเวลานั้น
เป็นกลุ่มคนที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่รัฐกุจราต ประเทศอินเดีย
นับถือศาสนาอิสลามนิกายชีอะห์ โดยเรียกพวกตนเองว่า “มุอ์มิน ดาวูดีโบห์รา”
นิยมทำการค้าผ้าแพรพรรณ ดิ้นเงินดิ้นทอง เพชรพลอย ตลอดจนเครื่องเทศ สมุนไพร
เครื่องหอม และน้ำอบ เป็นต้น มักตั้งร้านค้าบริเวนถนนเจริญกรุง พาหุรัด
ตลาดมิ่งเมือง และแถบวัดเกาะหรือวัดสัมพันธวงศ์
ต่อมากลุ่มคนเหล่านี้โดยการนำของกากายี ซายาอุดดิน โมฮัมหมัดอาลี
ร่วมกับมุลลาฮะซัน อาลี ยีวาใบ
และนายห้างวาสีได้ติดต่อขอซื้อที่ดินริมแม่น้ำเจ้าพระยาจากเจ้าพระยารัตนบดินทร์
(รอด) เมื่อได้ที่ดินแล้วจึงเริ่มสร้างมัสยิดของพวกตนขึ้น
และสามารถเปิดใช้ทำศาสนกิจเมื่อปี พ.ศ.2453
มัสยิดที่สร้างขึ้นมีชื่อเรียกว่า “มัสยิดเซฟี
มัสยิดเซฟี
มีรูปแบบทางสถาปัตยกรรมแบบกอธิค ลักษณะคล้ายกล่องสี่เหลี่ยม
โครงสร้างอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ตั้งอยู่บนฐานรากแผ่ที่ทำจากไม้ซุง
ภายในอาคารไม่มีเสากลาง ชั้นล่างปูกระเบื้อง มีห้องกิบละต์ หรือ ประชุมทิศ สำหรับผู้นำนมาซ
และบนเพดานห้องประดับโคมไฟรูปถ้วยอักขระกูฟี
อันเป็นลักษณะเฉพาะของนิกายดาวูดีโบห์ราที่นี่ไม่มีมิมบัรหรือแท่นธรรมาสน์
แต่มีตะฆัรสำหรับให้อิหม่ามนั่งเทศน์ ส่วนชั้นบนเป็นชั้นสำหรับสตรีทำนมาซ
โดยมีระเบียงวนโดยรอบ ประดับกระจกสีและลายฉลุไม้สวยงาม ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา มัสยิดเซฟีได้รับการดูแลรักษาเป็นอย่างดี
สามารถรักษาองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม
และคุณค่าทางประวัติศาสตร์เอาไว้ได้เป็นอย่างดี รวมทั้ง
ยังคงบทบาทสำคัญในการเป็นศูนย์กลางทางศาสนาของชาวมุอ์มิน ดาวูดีโบห์รา
ที่ตั้ง
647/1 ซอยสมเด็จเจ้าพระยา5 ถนนสมเด็จเจ้าพระยา แขวงสมเด็จเจ้าพระยา เขตคลองสาน กทม 10600
เลขหมายทะเบียน ธ 9
วัน/เดือน/ปี ที่รับจดทะเบียน
28 กันยายน 2493
ผู้ขอจดทะเบียน
นายตาเฮรใบ กูรบานฮูเซ็น
ตำแหน่งอิหม่าม
นายมูฮำมัดอารี ฮะซันใบ
ตำแหน่งคอเต็บ
หะยีอาลีใบ นรไบ
ตำแหน่งบิหลั่น
มุลลาฮากีมุดดินใบ มุลลาอับดุลรอซูล
ที่มา : https://masjid.islamicbangkok.or.th/masjid/id/22333#prettyPhoto