มัสยิดกลางประจำจังหวัดยะลา (มัสยิดเราฏอตุลยันนะห์)
- ต.สะเตง อ.เมืองยะลา จ.ยะลา 95000 073-214592
ประวัติความเป็นมาฯ
เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๘ นายอุสมาน ดอเฮะ ได้ซื้อที่ดินแปลงหนึ่งในเขตตำบลสะเตง อำเภอเมืองยะลา เนื้อที่ประมาณ ๒๕๐ ตารางวา เมื่อซื้อที่ดินแล้วก็ได้ลั่นวาจาว่า หากใครจะสร้างมัสยิดข้าพเจ้าจะยกที่ดินแปลงนี้ให้
ปี พ.ศ. ๒๔๗๐ นายอุสมาน ดอเฮะ ได้ถึงแก่กรรม และในปีเดียวกันโต๊ะครูหะยีอาแว หะยีตันตู ซึ่งมีปอเนาะอยู่ตรงข้ามกับที่ดินของนายอุสมาน ดอเฮะ กำลังจัดหาที่ดินเพื่อที่จะสร้างมัสยิดและได้เชิญนายแวยูโซะ โต๊ะแปเราะ มาปรึกษาและให้ช่วยหาที่ดินเพื่อที่จะสร้างมัสยิด นายแวยูโซะ จึงแจ้งให้โต๊ะครูทราบว่ามีที่ดินแปลงหนึ่งตรงข้ามกับปอเนาะของโต๊ะครูซึ่งเป็นที่ดินของนายอุสมาน ดอเฮะ แต่เขาได้ถึงแก่กรรมไปแล้ว นายแวยูโซะ อาสาจะไปปรึกษากับทายาทของนายอุสมาน ดอเฮะ หลังจากนั้นนายแวยูโซะ ได้มาแจ้งกับนางแมะซงบุตรนายอุสมาน ภรรยาของนายแวยูโซะ นางแมะซงแจ้งว่า จะต้องไปปรึกษากับนายมะแซ ดอเฮะ พี่ชายก่อ เมื่อนายมะแซ ดอเฮะ ทราบเรื่อง จึงแจ้งแก่นายแวยูโซะว่า ที่ดินแปลงนั้นนายอุสมาน ดอเฮะ บิดา ได้ลั่นวาจาว่าถ้าใครต้องการที่ดินเพื่อจะสร้างมัสยิดเขาจะยกที่ดินให้โดยที่ดินมีเนื้อที่ประมาณ ๒๕๐ ตารางวา จริง แต่หลังจากบิดาได้เสียชีวิตไป ได้จัดการแบ่งมรดกไปแล้ว ที่ดินแปลงดังกล่าวได้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของนางแมะเยาะ น้องสาวคนสุดท้อง นายมะแซ แจ้งแก่นายแวยูโซะ ว่าจะเชิญมารดาและพี่น้องมาปรึกษากันก่อน เพื่อเสนอว่าจะซื้อที่ดินแปลงอื่นมาทดแทนให้กับนางแมะเยาะ โดยมารดาจะเป็นผู้รับภาระจัดซื้อให้ หลังจากตกลงกันได้แล้ว นายมะแซและนายแวยูโซะมาแจ้งให้โต๊ะครูทราบ โต๊ะครูจึงบอกให้นายมะแซและนายแวยูโซะ จัดหาที่ดินแปลงอื่นมาแลกเปลี่ยนให้แก่นางแมะเยาะ
ปี พ.ศ. ๒๔๗๑ หลังจากได้ซื้อที่ดินมาแลกเปลี่ยนกับนางแมะเยาะ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว นายมะแซและนายแวยูโซะ จึงไปแจ้งให้โต๊ะครูทราบ ในปีต่อมาโต๊ะครูได้ให้ ลูกศิษย์ทำการถางป่าและ ปรับพื้นที่ พื่อจะทำการก่อสร้างมัสยิดและให้ลูกศิษย์ไปบอกแก่ญาติพี่น้องให้ทราบด้วย
ปี พ.ศ. ๒๔๗๕ เริ่มดำเนินการก่อสร้าง เป็นอาคารชั้นเดียว เสาไม้ หลังคามุงกระเบื้อง
ปี พ.ศ. ๒๔๗๘ เจ้าเมืองยะหริ่ง(อับดุลกอเดร์) ทราบข่าวการก่อสร้างมัสยิดจากนายหะยีหะมะ และนายหะยีอิสมาแอ เบ็ญฮาวัน จึงบอกแก่บุคคลทั้งสองว่า จะเป็นผู้ ออกค่ากระเบื้องมุงหลังคาให้
ปี พ.ศ. ๒๔๘๐ เจ้าเมืองยะหริ่งได้ส่งกระเบื้องมาเพื่อทำการมุงหลังคามัสยิดเป็นที่เรียบร้อย
ปี พ.ศ. ๒๔๘๒ นายหะยียูโซะ หะยีอาซา ได้มอบที่ดินข้างเคียงด้านทิศใต้ของมัสยิด กว้าง ๑ วา ยาวตลอดถึงด้านหลังมัสยิด ขณะเดียวกันนายหะยีอูเซ็ง ก็ได้มอบ ที่ดินข้างเคียงด้านทิศเหนือ กว้าง ๕ เมตร ยาว ๑๐ เมตร ให้ทำเป็นที่อาบน้ำละหมาด
ปี พ.ศ. ๒๔๘๗ นายหะยีหะมะ บือแน(หะยีหะมะ ปูยุด) เสนอต่อโต๊ะครูว่า ให้ติดต่อนายมะแซ ดอเฮะ เพื่อขอซื้อที่ดินด้านหลังที่เหลือจากบริจาคให้มัสยิดเพื่อทำ เป็นกุโบร์(สุสาน) โดยจะเชิญ ชวนขอรับบริจาคเงินจากประชาชนทั่วไป เมื่อนายมะแซ ทราบ ก็ตอบว่ายินดีขายให้ โดยขอร่วม บริจาคคิดค่าที่ดินเพียงครึ่งราคา
ปี พ.ศ. ๒๔๙๐ นายหะยีหะมะ บือแน ได้นำเงินที่ได้รับบริจาคจากชาวบ้านมามอบให้โครู และโต๊ะครูได้เรียกนายมะแซ และนายแวยูโซะมารับค่าที่ดิน ที่ดินแปลง นั้น ก็ได้ทำเป็นกุโบร์สาธารณะ ตั้งแต่นั้นมา
ปี พ.ศ. ๒๔๙๕ โต๊ะครูหะยีอาแวและครอบครัวเดินทางไปมักกะห์ ได้มอบหมายให้โต๊ะครูหะยีอับดุลฮามิ อับดุลซอมะ ทำหน้าที่อิหม่ามแทน
ปี พ.ศ. ๒๔๙๖ โต๊ะครูหะยีอับดุลฮามิ ลาออกจากอิหม่ามและได้เรียกนายมะ โต๊ะแปเราะ ในฐานะผู้ใหญ่บ้าน กับนายมะแซ ดอเฮะ มาปรึกษาหาอิหม่ามแทนโดยหา จากวงศ์ญาติ นายมะ โต๊ะแป เราะ เสนอชื่อนายหะยีฮามะ กูแวะ ดังนั้นโต๊ะครูหะยีอับดุลฮามิ จึงเชิญนายหะยีฮามะ มาสอบถามแต่ นายหะยีฮามะปฏิเสธเนื่องจากต้องการจะย้ายไปอยู่ที่อื่น นายมะ จึงเสนอชื่อ นายหะยีฮาซัน บูระดาเลง ผู้เป็นน้องเขย โต๊ะครูไม่ ขัดข้องจึงรับนายหะยีฮาซัน เป็นอีหม่าม และได้ประชุมสัปปุรุษแจ้งให้ทราบ โดยขอร้องให้นายมะ โตีะแปเราะเป็นกรรมการ และ เลขานุการ ต่อมามีสัปปุรษมาละหมาดวันศุกร์เป็นจำนวนมาก ทำให้สถานที่ละหมาดคับแคบจึงได้ประชุมคณะกรรมการฯ นายมะ โต๊ะแปเราะเสนอให้ ทำการต่อเติมอาคาร มัสยิดด้านหน้า ในที่ประชุมกรรมการฯ มีมติตกลงให้ทำการต่อเติมได้
ปี พ.ศ. ๒๔๙๗ ทางรัฐบาลให้มัสยิดต่างๆ ไปจดทะเบียน นายมะ โต๊ะแปเราะ ได้รับมอบอำนาจจากนายมะแซ ดอเฮะ ทำการจดทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภอเมือง ยะลา ชื่อมัสยิดเราฎอตุลยันนะห์ เลขหมายทะเบียน ๑๒ พร้อมกับโอนที่ดินให้เป็นทรัพย์สินของมัสยิดต่อไป ทางรัฐบาลได้ให้เงิน สนับสนุนจำนวน ๑๘,๐๐๐.- บาท(หนึ่งหมื่นแปดพันบาทถ้วน) เป็นค่าปรับปรุงและ ขยายมัสยิด จึงเชิญสัปบุรุษและผู้มีเกียรติ ประกอบด้วยนายหะยีฮามะ แว ดะโต๊ะยุติธรรม นายหะยีสะมะแอ เบ็ญฮาวัน ดะโต๊ะยุติธรรม นายหะยีเฮง ตอฮา และนายบำเพ็ญ ภูมิ ประเสริฐ บรรดาสัปปุรุษและผู้มีเกียรติทั้งหลายก็สนับสนุน จึงดำเนินการจนแล้วเสร็จในปลายปี พ.ศ. ๒๔๙๙
ปี พ.ศ. ๒๔๙๙ นายหะยีดือเระ หะสาเมาะ ได้บริจาคที่ดินบริเวณหน้ามัสยิด กว้าง ๕ เมตร ยาว ๑๓ เมตร ปีเดียวกันนี้นายมะ โต๊ะแปเราะได้ขอลาออกจากกรรมการ และเลขานุการมัสยิดเพื่อไป บำเพ็ญฮัจญ์ ณ นครมักกะห์ ประเทศซาอุดีอารเบีย
ปี พ.ศ. ๒๕๐๗ โดยการนำของนายหะยีอับดุลลาเต๊ะ สาและ(จ้าของร้าน อ.มุสลิม) ร่วมกับนายอาลี สุหลง ได้ดำเนินการขยายอาคารมัสยิดทางด้านหน้าออกไปอีก
ปี พ.ศ. ๒๕๑๑ รัฐบาลจะสร้างมัสยิดกลางจังหวัดยะลา ทางคณะกรรมการฯมัสยิดจึงเสนอรื้อมัสยิดหลังเก่าออกแล้วให้สร้างมัสยิดหลังใหม่ขึ้นโดยเลื่อนอาคารออก ไปข้างหน้าแต่ไม่เป็นที่ตกลง เพราะมีสัปปุรุษคัดค้านกันมาก
ปี พ.ศ. ๒๕๒๒ รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณก่อสร้างอาคารมัสยิด เฉพาะตัวอาคาร ตามนโยบายความมั่นคงของจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้ตามแปลนที่จัดออกแบบ ตามยุคสมัยแบบผสมผสานเชิงตึก ประกอบด้วยโดม โดยใช้งบประมาณแผ่นดินจำนวน ๒๘,๒๐๐,๐๐๐.- บาท(ยี่สิบแปดล้านสองแสนบาทถ้วน) ให้ เป็นมัสยิดกลางประจำจังหวัดยะลา สามารถรองรับสัปปุรุษ ประกอบศาสนกิจ ประมาณ ๒,๕๐๐ คน ประกอบศาสนกิจประจำวัน(ละ หมาดฟัรฎู) แต่ละเวลา(วักตู) ประมาณ ๕๐๐ คน ส่วนวันศุกร์และวันสำคัญทางศาสนา เช่น วันอีดหรือฮารี รายอทั้งสอง มีไม่ต่ำกว่า ๒,๐๐๐ คน และ เพิ่มจำนวนขึ้นทุกปี ทางมัสยิดได้ทำการปรับปรุงอาคารและอาคารประกอบอยู่เสมอ เช่น งานลงพื้นหินอ่อนทั้งสามชั้นใช้งบประมาณบริจาค ประมาณ ๘๐๐,๐๐๐.- บาท(แปดแสนบาทถ้วน) งาน ก่อสร้างอาคารประกอบและห้องรับรอง อาคารห้องน้ำชาย โดยใช้พื้นที่ชั้นสองเป็นห้องส่ง สถานีวิทยุสาธารณะมัสยิดกลางฯ ออกอากาศบริการชุมชนและกิจกรรมศาสนาทุกวัน
ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ก่อสร้างอาคารประกอบและห้องรับรอง มีห้องพักค้างคืนสำหรับสตรีพร้อมห้องน้ำ ที่สะดวกมากขึ้น
ปี พ.ศ. ๒๕๕๖ ปรับปรุงอาคารอาบน้ำญะนาซะฮฺ(อาบน้ำศพ) เพื่อให้ทำพร้อมกันได้หลายราย ปรับปรุงห้องน้ำรวม ก่อสร้างที่อาบน้ำละหมาดเพิ่มเติม ก่อสร้างป้าย ชื่อมัสยิดพร้อมไฟส่องป้าย ปรับพื้นโดยรอบเพื่อรองรับผู้มาฟังบรรยายธรรมประจำสัปดาห์วันอาทิตย์ ซึ่งมีจำนวนมากจนล้นออกมานอกอาคาร ปรับปรุง ปูกระเบื้องลานบันได
ที่มา http://www.masjidthai.com/masjid/YLA0017.html